การฟื้นฟูระบบราก (ตอนที่2)

การฟื้นฟูระบบราก

การฟื้นฟูระบบราก คือ วิธีการจัดการโครงสร้างดินให้เหมาะกับการหาอาหารของรากสำหรับต้นยางนาบนถนนสาย 106 เชียงใหม่-ลำพูนนั้น สภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก อีกทั้งยังมีถนนตัดผ่าน ทำให้รากมีผลกระทบโดยตรงจากการบดอัดถนน และบางพื้นที่มีการค้าขายมีการเทปูนรอบต้นยาง หรือมีการสันจรทำให้ดินแข็งน้ำไม่สามารถลงได้ จึงได้ทำการปรุงดินหรือปรับเปลี่ยนดินโดยการผสมส่วนต่างๆเข้าไป เพื่อทำโครสร้างดินมีชีวิต อีกครั้ง

ขั้นตอนการฟื้นฟูระบบราก

  1. สำรวจพื้นที่ที่จะทำการฟื้นฟูระบบราก โดยการคำนึงถึงสุขภาพต้นไม้ การเลือกต้นไม้นั้นจะเลือกต้นไม้ที่มีอาการป่วยหรือมีสภาพทรุดโทรมขนาดกลางหรือแย่ และการคำนึงถึงการใช้งานของคนในฟื้นที่เป็นหลัก .ใช้เวลาในการสำรวจ 1-2 วัน
  2. หลังจากได้ทำการเลือกพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ลงพื้นที่เพื่อวินิจฉัยปัจจัยรอบข้าง ใช้เวลา 1 วัน
    – การวัดพื้นที่ที่จะทำการวินิจฉัย
    – สำรวจปัจจัยโดยรอบที่จะมีผลกระทบกับการใช้เครื่องมือ เช่น ท่อประปา หน้าบ้านคน พื้นคอนกรีต

    หน้าบ้านคน มีผลกระทบในเรื่องฝุ่นหลีกเหลี่ยงการใช้เสียมลมใช้แรงงานคนแทนเครื่อง
    พื้นคอนกรีต ต้องใช้เครื่องกระแทรก (แจงเจ้าของบ้านเพื่อรับทราบและขอความร่วมมือ)
    แนวท่อประปาหรือพื้นที่ที่สามารถกันฝุ่นได้ ใช้เสียมลม

  3. ออกแบบพื้นที่พร้อมเสนอราคาใช้เวลา 1-2 วัน
  4. จัดเตรียมวัสดุการฟื้นฟูระบบราก  .ใช้เวลา 1 อาทิตย์  ในการเตรียมวัสดุเครื่องมือหนัก ได้แก่ เสียมลมพร้อมเครื่องปั้มลมขนาด 7บลา,อีเตอร์,จอบ,เสียม,รถขนดิน,บุ๋งกี๋,เครื่องกระแทกคอนกรีต,เครื่องปั่นไฟ,เครื่องเจาะดิน
    ปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ ได้แก่ ปุ๋ยขี้ใส้เดือน(ใบไม้บด,ขี้ใส้เดือน,ถ่านไบโอชา,),ไมครอไรซ่า,สารเร่งราก,ยาฆ่าปลวก,ปุ๋ยปลา,ฉี่ไส้เดือน,ชุดท่อเติมปุ๋ย จำนวน 4 ท่อ (ขุยมะพร้าว,ปุ๋ยปลา,ฉี่ไส้เดือน,ไมคอไรซ่า)
  5. ลงมือปฎิบัติใช้เวลา 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน หรือปัจจัยรอบข้าง
    5.1 กำหนดพื้นที่ที่จะทำการฟื้นฟูระบบราก โดยดูจากข้อมูลที่ทำการออกแบบไว้แล้ว
    5.2 ทำการเคลียวัสดุหน้าดินบริเวณที่จะเปิดโคนต้นออกก่อน รวมไปถึงวัชพืชต่างๆ
    5.3 ทำการขุดหรือเป่าด้วย AIR SPADE
    +  5.3.1 การขุดดินใช้อีเตอร์ ซึ่งมีหังปลายแหลมในการขุดเพื่อป้องกันความเสียหายของรากฝอย
    +  5.3.2 กรณีการใช้ AIR SPADEล้อมพื้นที่รอบโคนด้นด้วยผ้าใบ รอบด้าน เพื่อกันเศษต่างๆกระเด็น เป่าด้วย AIR SPADE โดยกำหนดความลึก 50 เซนติเมตร หรือให้เห็นรากฝอย
    5.4 ตรวจดูแผลจากการขุด ร่องรอยแมลง โรคพืชต่างๆ ที่อยู่บริเวณราก หากพบให้กำจัดแมลง โรคพืชและทำแผลก่อน จากนั้นขุดหลุมตามแนวราก 4-6 หลุม เพื่อวางท่อเติมปุ๋ย(ขุยมะพร้าว,ปุ๋ยปลา,ฉี่ใส้เดือน,ไมคอไรซ่า)
    5.5 เมื่อวางท่อและเติมปุ๋ยเข้าไปในกระบอกแล้ว นำดินที่ผสมตามสูตร(ใบไม้ปั่น,ขี้ใส้เดือน,ถ่านไบโอชา) เติมลงไปให้เต็มพื้นที่ ที่ขุดใว้ ผสมน้ำยาเร่งราก 50:/200 รดให้ชุ่มทั่วทั้งพื้นที่
    5.6 ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานจริง ขนย้ายขยะ เศษวัสดุต่างๆไปทิ้ง และทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย

เรื่องโดย สาวิตรี ศรีสอาด  เจ้าหน้าที่เทคนิคหมอต้นไม้