โครงการการรักษาฟื้นฟูระบบราก
และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน
ให้อยู่คู่ชุมชนอย่างปลอดภัย สวยงาม และยั่งยืน

โดย มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
ดำเนินงานโดย เครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม
สนับสนุนโดย กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดย มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
ดำเนินงานโดย
เครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม
สนับสนุนโดย กองทุนสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ต้นยางนาสองข้างถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน มีอายุ 135 ปี ในปี พ.ศ. 2561

ปัจจุบันมีต้นยางนาจำนวน 949 ต้น  บางต้นสูงสง่าให้ความร่มรื่น เติมแต่งให้ถนนสวยงาม บางต้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม ยามกิ่งหักโค่น ประชาชนและผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาก็ได้รับความเดือดร้อน มีจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกในทางลบ

โดยเฉพาะจากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนเมื่อ ปี 2559 ต้นยางนาหักโค่นทับบ้านเรือนเสียหายหลายหลัง ยิ่งทำให้ประชาชนที่อยู่สองข้างถนนต้นยางนาเชียงใหม่-ลำพูน เกิดความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น

ต้นยางนาหมายเลข 363 ล้มทับสิ่งปลูกสร้าง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559
ภาพโดย สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่

หลังจากเกิดเหตุ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา ในเบื้องต้นได้มีการสำรวจสภาพต้นยางนาใน 5 พื้นที่เทศบาล และพบว่าต้นยางนาถนนเชียงใหม่-ลำพูนเกินกว่า 1 ใน 3 อยู่ในสภาพวิกฤต

หมายเหตุข้อมูลการสำรวจเมื่อ  ปี พ.ศ.2559 เป็นเพียงการสำรวจและประเมินสภาพในเบื้องต้น
โดยอาสาสมัคร โดยเป็นเพียงการประเมินสภาพจากการสังเกตทางกายภาพเท่านั้น

จากข้อมูล ข้อเท็จจริง และความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหา มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (ดำเนินงานโดย เครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม) จึงได้พัฒนาโครงการ “การฟื้นฟูระบบราก และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนให้อยู่คู่ชุมชนอย่างปลอดภัย สวยงาม และยั่งยืน” และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม  โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 – สิงหาคม 2663 และมี 3 แผนงานสำคัญ คือ

แผนงานที่ 1 สำรวจ ประเมินสภาพ และกำหนดวิธีการฟื้นฟูดูแลรักษาต้นยางนาถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

แผนงานที่ 2 พัฒนาการฟื้นฟูระบบรากต้นยางนาถนนเชียงใหม่-ลำพูนเบื้องต้น (เบื้องต้น จำนวน 120 ต้น)

แผนงานที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรภาคีฯ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นยางนา ถนนเชียงใหม่-ลำพูน

คณะทำงานโครงการการฟื้นฟูระบบรากฯ ประกอบด้วย ข้าราชการ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ประชาชน ที่ได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่มาอย่างใกล้ชิด   มุ่งหวังว่า โครงการฯ จะนำไปสู่ความร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมกันแก้ไขปัญหาต้นยางบนถนนสายสำคัญแห่งนี้  ให้ต้นยางนาได้คงอยู่ และอยู่คู่กับชุมชนอย่างปลอดภัย สวยงาม ยั่งยืน ตามที่ตั้งใจกันไว้.

ความเป็นมาโดยย่อเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน แบ่งช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ ๓ ช่วงเวลาหลัก คือ

ต้นยางนาในยุคไม้หมายทางเชียงใหม่-ลำพูน (พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๕๔๙)

ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖) เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกที่เลียบตามแนวแม่น้ำปิงในการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน มาตั้งแต่พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ หรือมากกว่า ๗๐๐ ปีแต่การปลูกต้นยางนาริมถนนดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (เจ้าอินทนนท์)เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗โดยมหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ปลูกตลอดสองข้างทางตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไปจนจรดเขตจังหวัดลำพูน ใน พ.ศ.๒๔๒๕ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔   ทางราชการได้นำต้นยางนามาให้ราษฎรช่วยกันปลูกเพื่อความร่มรื่น สวยงามตลอดสองข้างทางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และปลูกต้นขี้เหล็กในเขตจังหวัดลำพูน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของถนนสายนี้จนถึงปัจจุบัน

ต้นยางนาในยุคพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท

การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๕๐๐ เป็นตันมา ได้ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงถนน และขยายตัวของพื้นที่เมืองไปตามเส้นทางการค้าที่สำคัญๆ สิ่งเหล่านี้ส่งผลเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของข้างทางถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนไปอย่างมาก จากที่เป็นเพียงเส้นทาง

ต้นยางนาในยุคการอนุรักษ์ต้นยางช่วงที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๗)

การตื่นตัวของภาคราชการต่อว เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับต้นยางนาในพื้นที่อำเภอสารภี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องเรียนคอมพิวเตอร์พระราชทาน ณ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ณ ศูนย์สุขภาพระรินจินดา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไว้ว่า “ฝากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อย่าให้ใครตัดต้นยางที่ถนนเชียงใหม่-ลำพูน เพราะไม่มีที่ไหนอีกแล้ว”

จังหวัดเชียงใหม่จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขปัญหาต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตามคำสั่งจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ๑๐๑๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจาณาหาแนวทางพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวแก่ราษฎรที่อาศัยบริเวณสองข้างทาง และผู้ใช้เส้นทางให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลวิธีการและแนวทางที่ถูกต้องในการบำรุงรักษา อนุรักษ์ต้นยางให้สามารถคงอยู่ต่อไปโดยไม่เกิดปัญหาแก่ประชาชน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เห็นถึงความสำคัญของการดำรงอยู่ของต้นยางนาจึงจัดสรรงบประมาณจำนวน ๕๙๒,๐๐๐ บาท มาให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ ร่วมกับกลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ฝ่ายวนวัฒนวิจัยและพฤกษศาสตร์ ทำศัลยกรรมบาดแผลต่างๆ ของต้นยางนาเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการจำนวน ๑๐๐ ต้น

ต่อมาในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๗ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๑๘๒,๖๐๐ บาท สำหรับจัดงานพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์ต้นยางนาสองข้างถนนสายเชียงใหม่- ลำพูน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานในพิธีเปิด ณ บริเวณสวนสุขภาพเทศบาล ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และจัดสรรงบประมาณจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ ดำเนินการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. ๒๕๔๘

แขวงการทางเชียงใหม่ที่ ๒ ได้ส่งมอบพื้นที่ถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูนและต้นยางนาสองข้าถนนให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาลในพื้นที่ช่วยดูแลด้วย

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ เป็นต้นมา กรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับโครงการการอนุรักษ์ต้นยางนาตามแผนงานต่อเนื่องที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ เสนอขอแต่อย่างใด แต่ได้เสนอของบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการต่อมาในปีงบประมาณ ๒๕๕๓และ ๒๕๕๔โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการสำรวจต้นยางนาทุกต้นพร้อมร่างจัดทำแบบภูมิทัศน์ เป็นต้น

พ.ศ. ๒๕๕๔

ชุมชนทั้ง ๕เทศบาลตำบลและเทศบาลนครเชียงใหม่ตลอดสายถนนต้นยางนาเชียงใหม่-ลำพูน ได้ริเริ่มรวมกลุ่มจัดตั้งมูลนิธิอนุรักษ์ต้นยางนา พร้อมเสนอการปลูกต้นยางนาเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๔พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๙ต้น ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ เป็นต้น ได้ให้การสนับสนุน โดยจัดทำโครงการปลูกต้นยางนาเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๔พรรษา ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗รอบขึ้น ในวันที่ ๔ธันวาคม ๒๕๕๔โดยต้นยางนาได้มาจากประชาชน รวมทั้งค่าใช้จ่ายจากเงินงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (อบจ.ชม.)ในการขนส่งต้นยางนาและการจัดพิธีการเฉลิมพระเกียรติฯ

พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๙

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์ต้นไม่ใหญ่ และการจัดการพื้นที่สีเขียวเมืองกเก่าเชียงใหม่    ตามแนวคิดนิเวศประวัติศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม พื้นที่ดำเนินการ คือ พื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ ๕ ชุมชน และเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร เป็นพื้นที่นำร่องโดยเครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม

 

ยุคประกาศเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ประกาศเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฯ ต้นยางนาและต้นขี้เหล็ก โดยคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ ๑๗๒/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘โดยอำนาจตามมาตรา๔๕แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.๒๕๓๕รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้พื้นที่ที่วัดจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ถนนเชียงใหม่ – ลำพูน ออกไปด้านละ ๔๐ เมตร ตั้งแต่ลำเหมืองพญาคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ถึงสุดเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอลำพูน จังหวัดลำพูน ในท้องที่ตำบลวัดเกต ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง และตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และในท้องที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนเป็นพื้นที่ ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. ๒๕๕๙

๑๗พฤษภาคม ๒๕๕๙ เกิดพายุหมุนโค่นต้นยางนา สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนราษฎรบนสองฝั่งถนนเป็นอย่างมาก และในวันที่ ๘มิถุนายน ๒๕๕๙คณะกรรมการคุ้มครองยางนาฯ จึงได้ประชุมหารือถึงมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนแก่ประชาชน

ปัจจุบันมีต้นยางเหลืออยู่จำนวน ๙๔๙ ต้น (จาก ๑,๑๐๗ต้น ในปี ๒๕๓๙และ๑,๐๒๘ต้น ในปี ๒๕๔๙)ปัจจุบันถนนเส้นนี้อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และครอบคลุมพื้นที่ ๕ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลหนองหอย เทศบาลหนองผึ้ง เทศบาลสารภีและเทศบาลตำบลยางเนิ้ง  และมีสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ตลอดจนร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิอนุรักษ์ต้นยาง (ถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๔ และร่วมกันจัดโครงการปลูกต้นยางนาเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๔พรรษาในปีเดียวกันเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗รอบและเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและมรดกของแผ่นดิน

ในขณะเดียวกันก็มีมูลนิธิอนุรักษ์ต้นยาง (ถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน) กลุ่มรักษ์ยางนา ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วยเทศบาลตำบลยางเนิ้ง เทศบาลหนองผึ้ง เทศบาลหนองหอย เทศบาลสารภี เข้ามาร่วมกิจกรรมดูแลต้นยาง เช่น การถอดตะปู ถอดป้ายโฆษณา ถอนวัชพืชที่ขึ้นปกคลุม จากต้นยางนา ทำพิธีบวชต้นยางนา เป็นต้น